สถานการณ์ภัยพิบัติ
สืบเนื่องจากพายุนกเตนที่พัดเข้ามาทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้เกิดฝน
ตกหนักส่งผลให้เกิดภัยพิบัติขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2554 พายุดังกล่าวทำให้เกิดน้ำป่า
ไหลหลากและดินโคลนถล่มที่บ้านปู่ทา ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน และ
สูญหาย 1 คน บ้านเรือนและพื้นที่ทำกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นาเสียหายเป็นจำนวนมาก ช่วงค่ำของวันที่เกิด
เหตุการณ์ กรมทหารพรานที่ 36 ได้ออกรณรงค์ขอรับบริจาคอาหารและสิ่งของจำเป็น จากประชาชนในเขต
ตัวเมืองแม่สะเรียง และเดินทางเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในวันที่ 4 สิงหาคม โดยที่ต้องเดินเท้าเข้าไป
เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากถนนสายแม่สะเรียง-แม่สามแลบ ที่จะเข้าไปถึงหมู่บ้านที่เกิดภัย ซึ่งรวมถึงบ้านห้วย
กองก้าด และบ้านแม่สามแลบ ถูกตัดขาดเนื่องจากดินโคลนถล่ม นอกจากนั้นในการเดินทางเข้าหมู่บ้านปู่ทา
ยังต้องใช้เรือล่องแม่น้ำสาละวินจากบ้านแม่สามแลบอีกประมาณหนึ่งชั่วโมงเพื่อจะไปให้ถึงทางเข้าหมู่บ้าน
และต้องเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง ทั้งนี้กรมทางหลวงสามารถเปิดเส้นทางคมนาคมได้เมื่อวันที่
7 สิงหาคม 2554 โดยรถยนต์ที่ผ่านเข้าออกได้มีเพียงรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ และรถจักรยานยนต์ โดยใช้
เวลาเดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่งในระยะทางเพียง 46 ก.ม.
ถนนสายแม่สะเรียง-แม่สามแลบวันที่ 5 สิงหาคม 2554
การสำรวจความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือ
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม โคเออร์แม่สะเรียงได้เดินทางเข้าไปที่หมู่บ้านปู่ทา เพื่อสำรวจข้อมูล และถามความต้องการ
ของผู้ประสบภัย โดยได้นำข้าวสาร ปลาเค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยาสามัญประจำบ้าน สบู่ และเสื้อผ้ามือสองไปมอบ
ให้ผู้ประสบภัยในเบื้องต้นก่อน และได้นัดหมายผู้ประสบภัยมารับข้าวสาร และสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ เพิ่มเติมที่
ท่าเทียบเรือปากทางเข้าหมู่บ้านในวันที่ 11 สิงหาคม
ตารางด้านล่าง แสดงถึงจำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
หมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน
ทั้งหมดของหมู่บ้าน |
บ้านเสียหายทั้งหลัง |
บ้านเสียหายบางส่วน |
จำนวนที่ได้รับความ
ช่วยเหลือทั้งหมด |
ปู่ทา |
60 |
10 |
50 |
60 |
แม่สามแลบ |
342 |
15 |
19 |
34 |
ห้วยกองก้าด |
71 |
4 |
17 |
21 |
รวม |
473 |
29 |
86 |
115 |
จำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติใน 3 หมู่บ้านคือ 115 ครัวเรือน โดยแยกเป็นบ้านเรือนเสียหาย
ทั้งหลัง 29 หลังคาเรือน และเสียหายบางส่วน 86 หลังคาเรือน โดยแต่ละหลังคาเรือนได้รับความช่วยเหลือดังนี้
หมู่บ้าน |
บ้านเสียหายทั้งหลัง |
บ้านเสียหายบางส่วน |
ปู่ทา |
ข้าวสาร 45 ก.ก.
ปลาเค็ม บะหมี่สำเร็จรูป
ถังน้ำและขันพลาสติก
จาน ชาม ช้อน
หม้อ กระทะ ทัพพี ตะหลิว
มุ้ง ผ้าห่ม ผ้าเต้นท์ ตะปู
เสื้อผ้า ยา สบู่ |
ข้าวสาร 25 ก.ก. |
แม่สามแลบ และห้วยกองก้าด |
ข้าวสาร 45 ก.ก. |
ข้าวสาร 25 ก.ก. |
จัดซื้อข้าวสารจากโรงสีข้าวใน อ.แม่สะเรียง ขนส่งไปยังพื้นที่ประสบภัย
นอกจากนี้ ที่บ้านแม่สามแลบ ได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยมีกรรมการที่ได้รับคัดเลือกจากกลุ่มคนต่าง ๆ ในชุมชน คือ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ และมุสลิม กลุ่มละ 2 คน รวมทั้งผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิก อบต. เป็นผู้ดูแลรับของและมอบของบริจาคให้กับผู้ประสบภัย โดยข้อมูลที่ได้จากศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พบว่า ผู้ประสบภัย ได้รับความช่วยเหลือด้านอาหารแห้ง น้ำดื่ม จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธกส. ชมรมเรือแม่สามแลบ ศูนย์อปพร.สบเมย เครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำ จ.แม่ฮ่องสอน ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.แม่ฮ่องสอน ได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยบ้านปู่ทาที่บ้านเสียหายทั้งหลัง ๆ ละ 30,000 บาท ผู้บาดเจ็บ 12 คน ๆ ละ 5,000 บาท ผู้เสียชีวิตที่เป็นหัวหน้าครอบครัวรายละ 50,000 บาท และผู้เสียชีวิตที่เป็นสมาชิกในครอบครัวรายละ 25,000 บาท ส่วนที่บ้าน
แม่สามแลบและห้วยกองก้าด ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือนี้ี้
ภาพการมอบข้าวสาร อาหารแห้ง ลิ่งจำเป็นให้กับผู้ประสบภัยบ้านปู่ทา
เมื่อวันที่ 9 และ 11 สิงหาคม 25
ภาพการแจกข้าวสาร ให้ผู้ประสบภัยบ้านแม่สามแลบและแม่กองก้าด
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2554
ตรวจสอบรายชื่อ และรับข้าวสาร เป็นรายบุคคล พร้อมลงชื่อรับ
แหล่งทุนที่ให้การสนับสนุน
โคเออร์ ได้ประสานงานไปยังคาริตัส ประเทศไทย ขอรับงบประมาณจำนวน 100,000 บาท เพื่อนำไปจัดซื้ออาหาร และสิ่งจำเป็นให้กับผู้ประสบภัยทั้ง 3 หมู่บ้าน ส่วนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำป่าไหลหลากที่เป็นผู้ลี้ภัยชาวพม่าในพื้นที่พักพิงบ้านแม่ลามาหลวง และบ้านแม่ละอูน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน 385 ครอบครัว โคเออร์ได้ของบประมาณสนับสนุนจากคาริตัส สเปน และคาริตัส เดนมาร์ก |